หายหน้าไปนานไม่เท่าไร เกือบไม่ได้หายใจเหมือนกัน

เหนื่อยจังเลยค่ะ โหมงานซะลืมดูแลตัวเอง  ขนาดว่าส่องกระจกดูหนังหน้า แทบจะรับสภาพไม่ได้  ถึงว่าไม่แปลกใจที่ใครจะทักว่า “โทรมจังค่ะ” “ขอบตาคล้ำนะคะ” จนบางทีอยากจะบอกว่าขอบคุณที่ห่วงใย (“ว่าแต่แกจะประจานฉันทำไม”)

หลังจากห่างหายไปนานจากการใช้เน็ต เมื่อหลายวันก่อนมีโกาสเปิดเว็บเกี่ยวกับสุขภาพ ก็พบบทความที่อ่านแล้วต้องบอกว่า ฉันเนี่ยแหละ เคสนี้เลย  เพราะอะไรนะเหรอ

ภาวะเครียดสะสม   จากสภาพการใช้ชีวิตที่เร่งรีบและการแข่งขันในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดภาวะเครียดกับคนทั่วไปได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากครอบครัว, เพื่อนร่วมงาน หรือสังคมต่าง ๆ ซึ่งความเครียดที่เกิดขึ้นเราอาจจะไม่รู้ตัว แต่ เกิดซ้ำ ๆ กันเป็นเวลานานทำให้เกิดภาวะความเครียดสะสม และส่งผลทำให้การทำงานของต่อมหมวกไตลดลง หรือที่เรียกกันว่า ภาวะต่อมหมวกไตล้า (Adrenal Fatigue) โดยพบได้บ่อยในวัยทำงาน หรือวัยเรียน ถึง 80-90%

พอมาพิจารณาก็พบว่า อื่ม อดนอนพักผ่อนไม่พอมาตั้งแต่เปิดเทอมภาคเรียนที่2 ตั้งแต่เตรียมศิลปหัตถกรรม ลุยโครงงานคุณธรรม Sci Show หนังสั้น  หมดงานนั้น ต่อด้วยประกวดกระทง จากนั้น นิทรรศการวันพ่อ ตามมาด้วยลุยแฟ้มงานประกัน สอบกลางภาค ค่ายวิทย์ ติวโอเน็ต และมาจบที่การทัศนศึกษา เชียงใหม่  ยังไม่นับงานแทรกระหว่างวัน แจ่มค่ะ

งานเยอะถ้ารู้จักดูและตัวเองดีๆ ก็ไม่เท่าไร แต่ภาวะหลงลืมตามมาขนาดลืมว่าหิว และต้องกินข้าวเนี่ย เลวร้ายมากเลย เพราะสังขารที่เลยล่วงไปไกล มันพื้นตัวยากจริงๆ

ต่อมหมวกไตล้า คนก็ล้า จริงๆนะ

ต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนเพื่อเผาผลาญอาหารให้ร่างกายสร้าง พลังงานขึ้นมา จนสามารถต่อสู้กับภาวะความเครียด ความเหนื่อยล้าต่าง ๆ แต่ เมื่อมีภาวะเครียดสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ต่อมหมวกไตทำงานมากเกินไปจนเกิดอาการล้าและส่งผลให้ไม่สามารถรักษา ระดับพลังงานของร่างกายให้เพียงพอ

ปัญหาภาวะต่อมหมวกไตล้า อาจจะยังเป็นคำที่เรายังไม่รู้จักกันมากนัก เพราะจริง ๆ แล้ว ภาวะนี้เป็นเพียงแค่อาการที่เกิดจากต่อมหมวกไตทำงานลดลง เป็นภาวะก่อนที่จะเป็นโรค ยังไม่ถึงกับแสดงอาการเป็นโรค แต่ จะทำให้เรามีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงสมบูรณ์เต็มที่ (Optimal Health) เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียเรื้อรัง ไม่ค่อยมีแรง และทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จนบางครั้งถ้าเกิดสะสมเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็จะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้

หน้าที่ของต่อมหมวกไต

ต่อม หมวกไต (Adrenal Gland) เป็นอวัยวะรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ ที่หุ้มอยู่บริเวณขั้วไตทั้งสองข้าง โดยเป็นอวัยวะอันหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญหลายชนิดในร่างกาย

ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับความเครียด โดยปกติแล้วร่างกายจะสร้างฮอร์โมนนี้ขึ้นมามากในตอนเช้า เพื่อทำให้ร่างกายตื่นตัวพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นมาในระหว่าง วัน โดยฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือ ฮอร์โมนแห่งความเครียดนี้ จะช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด

ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (Aldosterone) เป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมสมดุลของแร่ธาตุโซเดียม และโปแตสเซียม ซึ่งช่วยในการควบคุมของเหลวในร่างกาย

ฮอร์โมนดีเฮชอีเอ (DHEA, Dehydroepiandosterone) เป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นฮอร์โมนเพศทั้งหญิงและชายต่อไป เช่น เอสโตรเจน, โปรเจสเตอโรน, เทสโทสเตอโรน โดยมีหน้าที่กระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ ลดไขมัน กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และทำให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉง มีพลัง

ต่อมหมวกไตล้า

สาเหตุที่ทำให้ต่อมหมวกไตล้า

เครียด คิดมาก

นอนหลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ

ไม่ยอมเลิกงาน แม้จะรู้สึกเหนื่อย

นักเรียน นักศึกษาช่วงอ่านหนังสือสอบ

ชีวิตแต่งงานที่ไม่ราบรื่น

ตรากตรำทำงาน ไม่มีเวลาไปเที่ยวพักผ่อน

เครียดจากอาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

อาการของภาวะต่อมหมวกไตล้า

ตื่นยาก นอนไม่ค่อยหลับ และยังคงมีอาการเหนื่อยล้า แม้จะนอนหลับเพียงพอแล้ว

คิดซ้ำซาก วนไปวนมา ง่วงเหงาหาวนอนทั้งวัน

ไม่มีแรง หรือพลังงานในการใช้ชีวิตประจำวัน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง เครียดง่าย โกรธ และโมโหง่าย หายป่วยช้า

มีอาการอยากกินของหวาน หรืออาหารเค็ม ๆ

  อารมณ์ทางเพศลดลง

ความดันต่ำ หรือรู้สึกหน้ามืดเมื่อลุกขึ้นยืน หรือลุกจากเตียงนอน

มีอาการซึมเศร้า และรู้สึกไม่ค่อยมีความสุขในชีวิต

อาการเหล่านี้จะรุนแรงขึ้น ถ้ารับประทานอาหารไม่เพียงพอ หรืออดอาหารเช้า

การรักษาอาการต่อมหมวกไตล้า

ลดความเครียด

ลองใช้ชีวิตแบบไม่ต้องจัดตารางเวลาในการทำงานแต่ละวันบ้าง

ฝึกการควบคุมลมหายใจเข้าออก, นั่งสมาธิ

ปรับเปลี่ยนสภาวะแวดล้อม หรือพยายามปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ถ้าทำไม่ได้ควรเปลี่ยนงาน หรือย้ายที่อยู่ไปเลย

ออกกำลังกาย

เลือกชนิดการออกกำลังกายที่สนุก เช่น โยคะ, จ๊อกกิ้งในสวน ไม่ควรเป็นการแข่งขันเพื่อเอาชนะ

ควรออกกำลังกายหลากหลายร่วมกัน ทั้งแบบแอโรบิค และการเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของร่างกาย

หาเวลานอนราบระหว่างวัน สัก 15-30 นาที

พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ

หาเวลาไปเที่ยวพักผ่อนบ้าง

อาหาร

อย่างดอาหารเช้า ควรกินก่อน 10 โมงเช้า

แบ่งอาหารที่รับประทานเป็นมื้อเล็ก ๆ วันละหลาย ๆ มื้อ

รับประทานผลไม้จิ้มเกลือ หรือ น้ำผลไม้ใส่เกลือ โดยเฉพาะตอนเช้า

พยายามหลีกเลี่ยงขนมหวาน เช่น เค้ก, คุกกี้, โดนัท

ควรรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ขนมปังโฮลวีท, ผัก และผลไม้ เป็นต้น

ลดการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มชูกำลังที่มีคาเฟอีน

รับประทานอาหารเสริมวิตามิน และแร่ธาตุ เช่น วิตามินซี, บี 5, ไนอะซิน (บี 3), แมกนีเซียม, โสม, ชะเอม, เห็ดหลินจือ เป็นต้น เพื่อเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต

กะว่าจบงานทัศนศึกษานี้แล้ว คงจะได้พักบ้าง  ได้พักจริงๆ ค่ะ ถ้าไม่เป็นไข้ คงไม่ได้เขียน Blog

งานนี้ประเมินไม่ผ่านไม่ว่ากัน เพราะ ไม่แคร์อีกแล้ว ส่วนมาก ครูและเด็กๆพบกันผ่าน FB ตลอดๆ จนแทบจะเรียกได้ว่า ครูโอที แล้วมั๊ง

บายค่ะ ไว้ พบกนเดือนหน้า ไหน นะ นู่น

สวัสดีปีใหม่ ค่ะ

ครูหายหน้าไปนาน เป็นเดือนเลยนะคะ พอดีว่า เดินสายออกงานตลอดๆ ก่อนสิ้นปี 2555 เสียงหัวเราะ 555
ครูฝากปฏิทิน 2556 ไว้ให้ชมไปพลางๆ

สวัสดีปีใหม่นะคะ

HNY2013_resize

วลีเด็ดจากการ์ตูน

ยอมรับว่าไปก๊อบเขามา ฝาก

แบบว่าชอบไง  ชอบตลอดมา และตลอดไป

เผื่อใครเถียงว่า การ์ตูนไม่มีสาระ ชิมิ

ขอบคุณที่มา http://variety.teenee.com/foodforbrain/48578.html

“แมงกะพรุน” หลากสี

แชร์ว่อนเน็ต! ฝูง “แมงกะพรุน” หลากสี ลอยเต็มทะเล มหัศจรรย์ไทยแลนด์ จ.ตราด

ขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก buksohn, hackerlife.exteen.com

เมือง ไทยยังมีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงาม และน่าตื่นตาให้เราไปสัมผัส อย่างเช่น ณ ท้องทะเลหาดราชการุณย์ จังหวัดตราด ที่กำลังเป็นที่ฮือฮาในโลกไซเบอร์ขณะนี้ นั่นเพราะเจ้าของเฟซบุ๊ก buksohn และเจ้าของบล็อก hackerlife.exteen.com ได้บันทึกภาพอันน่ามหัศจรรย์ของฝูงแมงกะพรุนหลากสีสันที่แหวกว่ายเรียง รายอยู่กลางทะเลมาลงไว้ ก่อนที่ภาพงาม ๆ เหล่านี้ จะถูกแชร์ไปทั่วโลกอินเทอร์เน็ต

ภายในพริบตาเดียว ภาพดังกล่าวก็ถูกส่งต่อกันอย่างรวดเร็ว เพราะความสวยงามอย่างน่าอัศจรรย์ของท้องทะเลแห่งนี้นั่นเอง โดยเจ้าของบล็อก hackerlife.exteen.com ผู้เผยแพร่ภาพได้เล่าผ่านบล็อกว่า ท้อง ทะเลแห่งนี้สวยมาก ๆ หาดทรายขาว น้ำใส และธรรมชาติก็อุดมสมบูรณ์ แต่ที่น่าตื่นตาที่สุดก็คือ การได้มาเจอกับดงแมงกะพรุนนับพันนับหมื่นตัวทอดเรียงยาวไปสู่กลางทะเล ช่างเป็นภาพอันซีนที่สวยจริง ๆ

และเมื่อภาพดังกล่าวถูกเผยแพร่ไป ก็มีคนสอบถามกันเข้ามามากเลยทีเดียว เพราะอยากไปสัมผัสความงดงามเช่นนี้ด้วยตาของตัวเองบ้าง ทำให้เมื่อช่วงเช้าวันที่ 22 ตุลาคม เจ้าของภาพก็ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแมงกะพรุนดังกล่าวในเฟซบุ๊ก buksohn หลังจากสอบถามพี่ ๆ ชาวประมงในพื้นที่ จึงรู้ว่า แมงกะพรุนเหล่านี้เรียกว่า “แมงกะพรุนถ้วย” และการปรากฏตัวเช่นนี้ก็เป็นเรื่องปกติ เพราะมีให้เห็นทุกปีในช่วงปลายฝนต้นหนาวนั่นเอง

“สวัสดี ยามเช้าครับ วันนี้ผมมีโอกาสได้ถามพี่ ๆ ชาวประมง พร้อมกับคนในพื้นที่สองสามคน เรื่องฝูงแมงกะพรุนที่ผมเจอครับ นี่คือรายละเอียดที่พี่ ๆ บอกมาว่า มันมีแบบนี้ทุกปีครับ ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ไม่ใช่เรื่องที่แปลกใจสำหรับพวกเค้าเลยครับ มีเป็นปกติ”

“แมงกะพรุนที่ว่า ชาวบ้านเรียกว่า “แมงกะพรุนถ้วย” ครับ มันมีให้เห็นทุกปี ใครอยากเห็น ก็มาช่วงนี้แหล่ะครับ เดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายนครับ รับรองเห็นแน่ ๆ แมงกะพรุนชนิดนี้มีหลายสีครับ สีน้ำเงิน สีแดง สีขาว สีน้ำตาล ความเป็นพิษอยู่ที่ความเข้มสี และที่สำคัญ มันกินได้ครับ เค้าเอามาดอง ^^ รบกวนช่วยแชร์ต่อด้วยนะครับ เพราะว่าเห็นคนหลายคนสนใจและแชร์ต่อไปเยอะมาก พร้อมกับการตื่นตระหนก ^^”

แมงกะพรุนถ้วย

แมงกะพรุนถ้วย

แมงกะพรุนถ้วย

แมงกะพรุนถ้วย

แมงกะพรุนถ้วย

แมงกะพรุนถ้วย

แมงกะพรุนถ้วย

แมงกะพรุนถ้วย

แมงกะพรุนถ้วย

แมงกะพรุนถ้วย

แมงกะพรุนถ้วย

อันบนนั่น เก็บที่เขาแชร์มาให้อ่าน 

ทีนี้ ด้านล่าง อ่านเก็บความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์กันบ้าง

ไหนๆ ก็ สนใจเองนะเนี่ย  ไปตามเก็บมาอีกอยู่ดี

แมงกะพรุน (อังกฤษ: Jellyfish, Medusa) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ (ดูในตาราง) ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณ หนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก

แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในชั้นไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในชั้นไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในชั้นคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน

ลำตัวด้านบนของแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม เรียกว่า Medusa ซึ่งศัพท์คำนี้ก็ใช้เป็นอีกชื่อหนึ่งของแมงกะพรุนด้วยเช่นกัน

แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วกว่า 505 ล้านปี[1] มีวงจรชีวิตที่ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ[2]

โดยทั่วไปแล้ว แมงกะพรุนมีหลายชนิดที่สามารถรับประทานได้ โดยชาวประมงจะเก็บจากทะเล และผ่าออกทำการตากแห้งและหมักกับเกลือ, สารส้ม และโซเดียม[3] ก่อนจะนำออกขาย โดยประกอบอาหารได้หลายประเภท อาทิ ยำ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเย็นตาโฟ ซึ่งแมงกะพรุนชนิดที่รับประทานได้ คือ แมงกะพรุนหนัง (Rhopilema spp.) และ แมงกะพรุนจาน (Aurelia spp.) ซึ่งชาวจีนมีการรับประทานแมงกะพรุนมาไม่ต่ำกว่า 1,000 ปีแล้ว คุณค่าทางอาหารของแมงกะพรุน คือ มีโปรตีนสูงและแคลอรีต่ำ เป็นโปรตีนประเภทคอลลาเจนสามารถรับประทานได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าคอลลาเจนจากแมงกะพรุนอาจจะมีส่วนรักษาโรคไขข้ออักเสบ และโรคหลอดลมอักเสบ ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลด้วย [4]

ขณะที่แมงกะพรุนชนิดที่มีพิษ จะถูกเรียกรวม ๆ กันว่า แมงกะพรุนไฟ ส่วนใหญ่มีลำตัวสีแดงหรือสีส้ม จะมีพิษที่บริเวณหนวดที่มีน้ำพิษ ใช้สำหรับเพื่อล่าเหยื่อและป้องกันตัว สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ที่ถูกต่อยได้ บริเวณที่ถูกต่อยนั้นจะปรากฏรอยคล้ายรอยไหม้เป็นผื่น จากนั้นในอีก 20-30 นาทีต่อมา จะบวมนูนขึ้นเป็นทางยาวตามผิวหนัง ต่อไปจะเกิดเป็นแผลเล็ก ๆ และแตกออกเป็นแผลเรื้อรัง กล้ามเนื้อเกร็งและบังคับไม่ได้ จุกเสียด หายใจไม่ออก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งสิ่งที่สามารถปฐมพยาบาลพิษของแมงกะพรุนไฟได้เป็นอย่างดี คือ ใบของผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae) ใช้ร่วมกับน้ำส้มสายชูขยี้บริเวณที่ถูกพิษ จะช่วยทุเลาอาการได้ และหากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาจำพวก แอสไพรินได้ ก่อนจะนำส่งสถานพยาบาล[5] หรือการปฐมพยาบาลแบบง่ายที่สุด คือ ใช้น้ำจืดราดบริเวณที่ถูกต่อย เพื่อให้เข็มพิษของแมงกะพรุนนั้นหลุดไป จากนั้นจึงใช้น้ำส้มสายชูราดลงไป ก็จะทำลายพิษได้[6]

มีสัตว์บางประเภทที่ถูกเรียกว่า แมงกะพรุน เช่นกัน แต่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืด คือ แมงกะพรุนน้ำจืด (Craspedacusta spp.) จัดเป็นแมงกะพรุนขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำจืดของสหรัฐอเมริกาและทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย แต่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นไฮโดรซัว[7]

แมงกะพรุนชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงกะพรุนขนสิงโต (Cyanea capillata) ที่เมื่อแผ่ออกแล้วอาจมีความกว้างได้ถึงเกือบ 3 เมตร และยาวถึง 37 เมตร ปรกติพบในอาร์กติก, มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ และมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือ[8]

อ้างอิง

  1. ^ บรรพบุรุษรุ่นแรกของ พืชและสัตว์ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
  2. ^ ไนดาเรีย
  3. ^ ทะเลสตูลคึกคักจับแมงกะพรุนส่งนอก
  4. ^ แมงกะพรุน (Jelly fish)
  5. ^ แมงกระพุนมีพิษกับไม่มีดูความแตกต่างอย่างไร?
  6. ^ ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผศ.ดร., บทสัมภาษณ์ในรายการ 101 องศาข่าว ทาง F.M. 101 Mhz: วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554
  7. ^ ชัยวุฒิ กรุดพันธ์, “แมงยุ้มแยะ” กะพรุนน้ำจืด แห่งเมืองอุบล คอลัมน์ Aqua Life หน้า 45-47 นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 1 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนเมษายน 2011
  8. ^ British Jellyfish

แมงกะพรุนในชั้นไซโฟซัว ที่พบในทะเลทั่วไป

แมงกะพรุนน้ำจืด สายพันธุ์ Craspedacusta sowerbyi

น่ารัก แต่พิษสงใช่ย่อยเลยนะเนี่ย

ปล และอร่อยเวลาอยู่ในชามเยนตาโฟ อิอิ

HBD ค่ะ Niels Bohr

ไม่มีใครรู้ว่าถ้าไม่มีนีลส์ บอร์แล้ว เราจะรู้เกี่ยวกับเรื่องของอะตอมได้อย่างไร”  นี้คือคำกล่าวของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์อันดับหนึ่งของโลกที่กล่าวถึงนักฟิสิกส์ผู้นี้ นีลส์ บอร์เป็นนักฟิสิกส์ที่เปิดเผยความลับของอะตอมผู้ที่อยู่ในยุคเดียวกับ อัลเบิร์ตไอน์สไตน์ และมีความเป็นอัจฉริยะไม่แพ้กันเลยแม้แต่น้อย อีกทั้งนีลส์ บอร์ยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่งที่ทำให้การสร้างระเบิดปรมาณูประสบความ สำเร็จ สิ่งที่เป็นการยืนยันได้ดีก็คือ รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ที่เขาไดัรับการจากการค้นพบทฤษฎีอะตอม ในปี ค.ศ. 1922

นีลส์ บอร์ : Niels Bohr

เกิด        วันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1885 ที่เมืองโคเปนเฮเกน (Copenhagen) ประเทศเดนมาร์ก (Denmark)
เสียชีวิต วันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ.1962 ที่เมืองโคเปนเฮเกน (Copenhagen) ประเทศเดนมาร์ก (Denmark)
ผลงาน   – ทฤษฎีธรรมชาติของอะตอม
ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ จากผลงานทฤษฎีอะตอมแนวใหม่
ได้รับรางวัลปรมาณูเพื่อสันติภาพ

 

นีลส์ บอร์มีชื่อเต็ม ๆ ว่า นีลส์ เฮนริค เดวิด นีลส์ บอร์ (Niels Henrick David Bohr) เขาเกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1885 ที่กรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก บิดาของเขาชื่อว่า คริสเตียน นีลส์ บอร์ (Christian Bohr) เป็นศาสตราจารย์ทางสรีรวิทยา ที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (Copenhagen University) ส่วนมารดาคือ อัลเลน นีลส์ บอร์ (Allen Bohr) ซึ่งเป็นบุตรสาวของคหบดีที่มั่งคั่งแห่งเมือง การที่นีลส์ บอร์เกิดมาในตระกูลที่มั่งคั่งทำให้นีลส์ บอร์มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดีมาก หลังจากที่เขาจบการศึกษาเบื้องต้นในปี ค.ศ.1903 นีลส์ บอร์ได้เข้าศึกษาต่อในวิชาฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน หลังจากที่เขาจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้ว เขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ มากมายหลายเรื่อง
โดยนีลส์ บอร์ได้เริ่มการศึกษาค้นคว้าทดลองครั้งแรกในปี ค.ศ.1907 เกี่ยวกับเรื่องความตึงของผิวน้ำ และจากผลงานชิ้นนี้นีลส์ บอร์ได้รับรางวัลเหรียญทองจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งชาติเดนมาร์ก ต่อมาในปี ค.ศ.1911 เกี่ยวกับเรื่องอิเล็กตรอนของโลหะ เพื่อจัดทำเป็นวิทยานิพนธ์สำหรับรับปริญญาเอก ซึ่งเขาก็ประสบความสำเร็จได้รับปริญญาเอกในสาขาวิชาฟิสิกส์สมใจ หลังจากที่เขาได้รับปริญญาเอกแล้ว นีลส์ บอร์ได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ และได้พบกันเซอร์โจเซฟ จอห์น ทอมป์สัน (Sir Joseph John Thompson) ทั้งสองยังได้ร่วมมือกันทำการทดลองค้นคว้าในห้องทดลองคาเวนดิช มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปีต่อมาเขาได้ทำการทดลองค้นคว้าร่วมกับเออร์เนสรัทเธอร์ฟอร์ด ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ในเรื่ององค์ประกอบของอะตอม จำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนในธาตุแต่ละชนิด และในตารางธาตุทั้งหมดแต่ละอะตอมจะมีจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเท่ากับจำนวน อิเล็กตรอนที่วิ่งโดยรอบ และโปรตอนหนึ่งโปรตอนมีประจุไฟฟ้า ในธาตุในก็ตามแกนกลางของธาตุยังมีจำนวนโปรตอนเหมือนกันทั้งสิ้น และจำนวนอะตอมเหล่านี้ เรียกว่า “จำนวนอะตอมของธาตุ” และธาตุที่มีจำนวนอะตอมมากที่สุด คือ ธาตุยูเรเนียม แต่ไม่ทันที่จะก้าวหน้าไปมากกว่านี้รัทเธอร์ฟอร์ดก็เสียชีวิตไปก่อนการค้น คว้าครั้งนี้ก็นับว่ามีประโยชน์อย่างมากมหาศาลแล้ว จากนั้นนีลส์ บอร์ได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่ประเทศเดนมาร์ก พร้อมกับภรรยามากาเร็ต ฮอร์แลนด์ (Magarethe Horland) ที่เพิ่งแต่งงานกันได้ไม่นาน

หลังจากที่นีลส์ บอร์เดินทางถึงบ้านในปี ค.ศ.1913 เขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งอาจารย์วิชาฟิสิกส์ ประจำมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน แต่เขาทำงานอยู่ได้ไม่นานก็เดินทางกลับประเทศอังกฤษ และเดินทางกลับประเทศเดนมาร์กอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1916 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์วิชาฟิสิกส์ประจำมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน และต่อมาในปี ค.ศ.1920 นีลส์ บอร์ได้เลื่อนตำแหน่งให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าทฤษฎีฟิสิกส์ ในมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน นอกจากนี้เขายังได้รับการสนับสนุนด้านการเงินในการค้นคว้าทดลองอีกด้วยในปี ค.ศ.1922 นีลส์ บอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากผลงานทฤษฎีอะตอมแนวใหม่ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการค้นคว้าด้านอะตอมในเวลาต่อมา

          

และในปีเดียวกัน เขาได้เผยแพร่ผลงานออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า โครงสร้างของอะตอมและการแผ่รังสี (The Theory of Spectra and Atomic Constitution) ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับผลงานการค้นคว้าของเขาเกี่ยวกับโครงสร้างของอะตอม โดยนีลส์ บอร์ได้อธิบายว่า โครงสร้างของอะตอมก็เช่นเดียวกันกับโครงสร้างของระบบสุริยจักรวาล คือระบบสุริยะมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ส่วนอะตอมมีนิวเคลียสเป็นศูนย์กลาง ส่วนอิเล็กตรอนก็หมุนรอบนิวเคลียส เช่นเดียวกับดาวเคราะห์ที่ต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์ นอกจากนี้นีลส์ บอร์ยังเป็นผู้อธิบายเกี่ยวกับการค้นพบกัมมันตภาพรังสี และทฤษฎีควอนตัมซึ่งแมกซ์ แพลงค เป็นผู้ค้นพบ แต่ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนเท่าไรนัก เมื่อนีลส์ บอร์นำมาอธิบายทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

         ในปลายปี ค.ศ.1938 นีลส์ บอร์ได้เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อพบกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทั้งนี้เขาต้องการปรึกษาหารือ และทำการทดลองเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอมให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งไอน์สไตน์ก็เห็นดีด้วย ทั้งสองจึงร่วมมือกันทำการทดลองขึ้นที่ห้องทดลองในมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน แต่การทดลองของทั้งสองก็เป็นอันยุติลงไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็เป็นโอกาสดีในทางหนึ่งเนื่องจากในเดือนมกราคม ค.ศ.1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์อพยพมาจากยุโรปซึ่งเป็นศูนย์กลางสงคราม เข้ามาในประเทศอเมริกาจำนวนมาก ในระหว่างนี้นีลส์ บอร์ได้ เข้าทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์ฟิสิกส์ ประจำมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เมืองนิวยอร์ค ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ทำให้นีลส์ บอร์มีโอกาสได้เผยแพร่ผลงานที่เขาเพิ่งค้นพบให้กับนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ได้มีโอกาสได้รับรู้ เกี่ยวกับทฤษฎีการแตกตัวของอะตอม ซึ่งเป็นการแตกตัวของอะตอมของยูเรเนียม ซึ่งทฤษฎีนี้ได้นำไปใช้ในการสร้างระเบิดปรมาณู

        ในปี ค.ศ.1940 ภาวะสงครามกำลังตึงเครียดอย่างหนัก แต่นีลส์ บอร์ก็ยังเดินทางกลับบ้านที่ประเทศเดนมาร์กเพื่อเยี่ยมเยียนครอบครัว พอดีกับกองทัพนาซีแห่งเยอรมนีได้ยกทัพเข้ายึกประเทศเดนมาร์ก นีลส์ บอร์ต้องใช้เวลานานถึง 3 ปี จึงจะหลบหนีออกจากเดนมาร์กมายังประเทศอังกฤษ โดยความช่วยเหลือของนายกรัฐมนตรีอังกฤษในเวลานั้น จากนั้นเขาได้เดินทางต่อไปยังประเทศสหรัฐฯ และเมื่อมาถึงเขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาโครงการอะตอมแห่อลาโมร์ รัฐนิวเมกซิโก ต่อมาในปี ค.ศ.1945 ระเบิดปรมาณูลูกแรกได้ทำการทดลองเป็นผลสำเร็จ จากนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงที่จะทิ้งระเบิดลงที่เมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่น เพื่อเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อนีลส์ บอร์ได้ทราบข่าว เขาได้เดินทางไปยังเมืองนิวยอร์คทันทีเพื่อยุติการกระทำในครั้งนี้แต่ไม่มี ผู้ใดฟังเสียงของเขาเลย แม้ว่าเขาจะพยายามอธิบายถึงผลเสียที่จะมาจากระเบิดปรมาณูแล้วก็ตามและ เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรคาดไว้คือระเบิดปรมาณูสามารถทำให้ ญี่ปุ่นยอมแพ้ และสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เป็นอันยุติลง แต่ผลเสียที่ตามมาก็คือ มีผู้เสียชีวิตจากระเบิดทั้ง 2 ลูกจำนวนมากกว่า 2 แสนคน และเสียชีวิตภายหลังอีกจากโรคมะเร็งกว่า 200,000 คน

หลังจากที่นีลส์ บอร์ประสบความล้มเหลวจากการหยุดยั้งระเบิด เขาได้เดินทางกลับประเทศเดนมาร์ก และได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการพลังงานปรมาณูแห่งเดนมาร์ก ในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งนี้เขาได้พยายามหยุดยั้งการใช้ระเบิดปรมาณูเพื่อการ ทำลายล้างทุกวิธีทาง จนในที่สุดความพยายามของเขาก็สัมฤทธิ์ผล ในปี ค.ศ.1955 การประชุมเรื่องปรมาณู ว่าด้วยเรื่องการควบคุมการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติและสร้างสรรค์ มิใช่เพื่อการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ด้วยกัน ครั้งแรกเกิดขึ้น ที่กรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และจากความพยายามของนีลส์ บอร์ ในปี ค.ศ.1957 นีลส์ บอร์ได้รับรางวัลปรมาณูเพื่อสันติดภาพ (Atom for Peace Award) จากหอวิทยาศาสตร์แห่งชาติ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นจำนวนเงิน 75,000 เหรียญ ซึ่งนีลส์ บอร์ เป็นบุคคลแรกที่ได้รับรางวัลนี้

นีลส์ บอร์ยังคงทำงานของเขาต่อไป ต่อมาเขาได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาในหัวข้อ ความก้าวหน้าของอะตอม จากสถาบันหลายแห่งและค้นคว้าอะตอมต่อไป จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ.1962 ที่เมืองโคเปนเฮเกน นีลส์ บอร์ได้สร้างคุณประโยชน์อย่างมากมายให้กับวงการวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับอะตอม นีลส์ บอร์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องอย่างมากจากรัฐบาลเดนมาร์ก และสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนก็คือ คฤหาสน์อันโอ่อ่าที่มีห้องพักมากถึง 12 ห้อง ซึ่งมูลนิธิคลาสเบิร์ก (Carlsburg Foundation) ปลูกไว้สำหรับเป็นที่พักของนักปราชญ์ชาวเดนมาร์กได้อยู่จนตลอดชีวิต นอกจากนี้นีลส์ บอร์ยังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูของเดนมาร์ก และนีลส์ บอร์ยังได้เป็นผู้ควบคุมการสร้างเครื่องปรมาณูเครื่องแรกของเดนมาร์กอีกด้วย

ขอบคุณ ที่มา

http://blog.eduzones.com/hunny/3708

http://www.comfixclub.com/niels-boh/

http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=29037

ปล.

ความรู้เล็กๆ สำหรับนักเรียนมัธยม

จาก  นีลส์ โบร์ สร้างแบบจำลองอะตอมเพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมของอิเล็กตรอนในอะตอม  โดยอาศัยความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานของอิเล็กตรอน และการเกิดสเปกตรัม ซึ่งกล่าวว่า

“อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นวงคล้ายกับวงโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ แต่ละวงจะมีระดับพลังงานเฉพาะตัว ระดับพลังงานของอิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุดซึ่งมีพลังงานต่ำที่สุดเรียกว่าระดับ K และระดับพลังงานที่อยู่ถัดออกมาเรียกเป็น L  ,  M  ,  N  ,   …   ตามลำดับ ต่อมาได้มีการใช้ตัวเลขแสดงถึงระดับพลังงานของอิเล็กตรอน คือ  n = 1  หมายถึงระดับพลังงานที่ 1  ซึ่งอยู่ใกล้กับนิวเคลียสที่สุด และชั้นถัดมาเป็น  n = 2  หมายถึงระดับพลังงานที่ 2 ต่อจากนั้น  n = 3 ,  4  ,  . . . หมายถึงระดับพลังงานที่ 3 , 4   และสูงขึ้นไปตามลำดับ”

แบบจำลองอะตอมของโบร์ พัฒนามาจากการค้นพบสเปกตรัมของอะตอมไฮโดรเจน ซึ่งเป็นอะตอมที่มี 1 อิเล็กตรอน แต่ไม่สามารถใช้อธิบายอะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอนได้ นักวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อนเสนอแบบจำลองอะตอมใหม่ ต่อไป